วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชัยปริตต์

พระคาถาพาหุง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ส่วนหนึ่งของ
พุทธศาสนา

ประวัติพุทธศาสนา
ศาสดา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์
ไตรสรณะ

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล · ธรรม
ศีลห้า · เบญจธรรม
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
บัญญัติ · ขันธ์ · ปรมัตถธรรม
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมพุทธศาสนา
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
ดูเพิ่มเติม
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
หมวดหมู่พุทธศาสนา
สารานุกรมพระพุทธศาสนา สถานีย่อย

พระคาถาพาหุง (ข้อมูล)เรียกอีกอย่างว่า ชัยมงคลคาถา หรือ บทสวดถวายพระพร เป็นพระคาถาแปดบท ใช้สวดสรรเสริญชัยชนะแปดประการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมนุษย์ และอมนุษย์ ที่ได้มาด้วยพระพุทธธรรม มิได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์แต่อย่างใด โดยพระมักสวดต่อท้ายทำวัตรเช้า – เย็น เริ่มด้วย บทพาหุง ตามด้วยบทมหาการุณิโก รวมเรียกว่า พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา
เนื้อหา
[ซ่อน]

* 1 ตำนานเกี่ยวกับพระคาถาพาหุงมหากา
* 2 บทสวดพร้อมคำแปล
* 3 บทสวดทำนองสรภัญญะ
* 4 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ตำนานเกี่ยวกับพระคาถาพาหุงมหากา

จากคำสอนของพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ท่านเล่าว่าได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยาในนิมิต และได้ทราบว่าคาถาพาหุงมหากานี้ เป็นบทสวดที่สมเด็จพระพนรัตน์ ได้จารึกถวายต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำระหว่างอยู่ในพระบรมหาราชวัง หรือระหว่างออกศึกสงคราม เพื่อให้มีชัยต่อพระมหาอุปราชแห่งพม่า และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากกรุงหงสาวดีได้สำเร็จ

[แก้] บทสวดพร้อมคำแปล

หมายเหตุ: หากสวดให้ตนเอง (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้นจงมีแก่ "ข้าพเจ้า") ให้เปลี่ยนจาก เต เป็น เม
บทสวด คำแปล อรรถาธิบายอย่างย่อ
บทที่ ๑

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมาะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธ ครบมือ ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามาร โห่ร้องก้องกึก พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


ปราบมาร ด้วยทานบารมี
พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ พระยาวัสสวดีมาราธิราช ได้ขี่ช้างคิรีเมขล์ ยกทัพมารที่ดุร้ายมุ่งผจญข่มขู่พระโพธิสัตว์ แต่ด้วยบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ทำให้ พระแม่ธรณีปรากฏกายขึ้นบิดมวยผม เกิดน้ำท่วมใหญ่พัดพากองทัพมารแตกพ่ายไป
บทที่ ๒

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก ความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรง เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วย เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


ปราบยักษ์ ด้วยขันติธรรม
พระพุทธเจ้าเสด็จไปปราบอาฬวกยักษ์ ซึ่งสำแดงฤทธิ์ ถีบยอดเขาไกรลาศ แล้วร้องเรียกยักษ์บริวารมาล้อมวิมาน ยิงศาสตราวุธ ๗ ประการใส่พระพุทธเจ้า อาวุธนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้บูชาพระพุทธองค์ อาฬวกยักษ์แพ้ฤทธิ์แล้ว พระองค์จึงเทศนาโปรด จนยักษ์สำเร็จแก่พระโสดาปัตตผล
บทที่ ๓

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ


พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำ คือเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


ปราบช้าง ด้วยเมตตาธรรม
พระพุทธองค์ทรงทรมานช้างนาฬาคีรี ครั้งนั้นพระเทวทัตคิดฆ่าพระพุทธเจ้า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู ขอให้เอาเหล้ากรอกช้างนาฬาคีรี แล้วปล่อยไปตามถนน ที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาต พระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคีรีให้หายเมาเหล้า แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์
บทที่ ๔

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ


โจรองคุลิมาล (โจรฆ่าคนเอานิ้ว ทำพวงมาลัยแสนดุร้าย) ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ พระจอมมุณี ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


ปราบมหาโจร ด้วยอิทธิฤทธิ์
พระพุทธเจ้าทรงโปรดองคุลิมาล เมื่อพระพุทธองค์กลับจากบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีพบองคุลิมาล องคุลิมาลเห็นเข้าจึงจับอาวุธไล่ตามพระพุทธองค์ แต่ไล่ตามไม่ทัน พระพุทธองค์ตรัสให้องคุลิมาลได้คิด “เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิไม่หยุด” องคุลิมาลเลื่อมใส ขอบวช และตามเสด็จกลับไปกรุงสาวัตถี พักอยู่ ณ เชตวนาราม
บทที่ ๕

กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


นางจิญจมาณวิกา (สาวิกาพวกนิครนถ์) เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการ ประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทะเจ้า ท่ามกลางฝูงชน พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม ด้วย เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


ปราบหญิงแพศยา ด้วยสันติธรรม
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตุพน ใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นเกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนามาก พวกเศรษฐีให้นางจิญจมาณวิกา ทำอุบาย เข้าออกในพระเชตุพนเนืองๆ แล้วเอาท่อนไม้ผูกท้องเข้าในผ้านุ่ง ไปยืนแสดงตนขณะพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนา ร้องตู่ว่าพระองค์ทำให้นางมีครรภ์ พระอินทร์และเทพยดา ๔ องค์ นิมิตลงมาเป็นหนูกัดเชือกผูกท่อนไม้ขาด แล้วแผ่นดินก็สูบนางจิญจมาณวิกาลงไปในนรก
บทที่ ๖

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคน มืดบอดยิ่งนัก พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย “แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้ ด้วยเดชแห่ง ชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


ปราบเจ้าลัทธิ ด้วยปัญญา
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในมหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นมีสัจกนิครนถ์บุตร อาศัยในเมืองเวสาลี ถือมิจฉาทิฐิ ตั้งตนเป็นปราชญ์ มีความรู้มาก ต้องทำแผ่นเหล็กรัดท้อง เพราะกลัววิชาจะทำลายท้องแตก วันหนึ่งพบพระอัสชิ จึงถามปัญหาแก่ท่าน ต่อมาได้ชวนพญาลิจฉวีทั้ง ๕๐๐ ไปป่ามหาวัน ถามปัญหาแก่พระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระอินทร์นิมิตเป็นยักษ์ถือฆ้อน ลอยอยู่บนอากาศ เหนือศีรษะของสัจกนิครนถ์ สัจกนิครนถ์นั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระพุทธเจ้า ก็ละมิจฉาทิฐิ แล้วตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณคมณ์
บทที่ ๗

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก พระจอมมุนี ทรงมี พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไป ปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน


ปราบพญานาคจอมพาล ด้วยฤทธิ์สู้ฤทธิ์
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เหาะไปสู่เทวโลก พญานันโทปนันทนาคเห็นเข้า ก็โกรธว่าพระสมณะเหาะข้ามศีรษะ จึงบันดาลขดกายใหญ่พันเขาพระสุเมรุ แผ่พังพานยังดาวดึงส์ พระพุทธองค์ส่งพระโมคคัลานะไปปราบ ต่างสำแดงฤทธิ์เดชต่างๆ เป็นโกลาหล ภายหลังพญานาคแพ้ฤทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์
บทที่ ๘

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ


พรหมชื่อพกะ (ถือตัวว่า) มีความ บริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์ ยึดมั่นในความเห็นผิด ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา


ปราบพกาพรหม ด้วยญาณ
พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นสู่พรหมโลก ท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา จึงเรียกร้องด้วยคำกระด้าง แล้วกำบังกาย แต่ก็มิสามารถกำบังกายได้ หมู่พรหมทั้งหลายก็หัวเราะเยาะเย้ย ท้าวผกาพรหมได้รับความอับอายยิ่งนัก แล้วพระพุทธเจ้าจึงเทศนาธรรม ทรมานท้าวพกาพรหมและพรหม ๑,๐๐๐ ให้สำเร็จมรรคผล
บทส่งท้าย

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้าน พึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง พระนิพพานอันเป็นสุข

บทมหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ
หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา
ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล
สัก์ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ
ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก
สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง
อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ
สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง
วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง
ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ
ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมห ากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศ ากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด

เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น