เกี่ยวกับเรื่องใช้มนต์คาถานั้น พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์หลวง สำนักงานราชวัง และหัวหน้าคณะพราหมณ์ โบสถ์เทวสถาน บอกว่า เวทมนต์คาถาเป็นตัวสื่อทำให้เกิดสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิจิตก็ไม่ฟุ่งซ่าน การรู้คาถา และท่องคาถา ได้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีสมาธิและศีลธรรมกำกับ คาถา นั้นๆ จึงสัมฤทธิ์มรรคผล แต่คนในปัจจุบันคิดว่า การรู้คาถา และท่องคาถา ได้เท่านั้น ก็สามารถผูกใจเพศตรงข้ามได้ โดยเฉพาะคาถา ที่เกี่ยวกับความรัก ความเมตตา คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า สามารถทำให้เพศตรงข้ามมาสนใจได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว คาถา ไม่สามารถบังคับจิตใจเพศตรงข้ามได้ กลับเป็นการบังคับฝ่ายผู้ที่ใช้คาถา ให้เป็นไปตามคาถา บทนั้นๆ ที่สำคัญ คือ หากนำไปใช้ในด้านกามารมณ์ และผิดศีลธรรม นอกจากไม่เป็นมรรคผลแล้ว ยังเป็นการสร้างบาปให้เกิดกับผู้ใช้คาถา ด้วย
ด้าน อ.โสภณ พัฒน์ชัยชนะ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอักขระเลขยันต์ บอกว่า ในคำปรารภของ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ชำนาญทางไสยศาสตร์ เวทมนต์คาถาและโหราศาสตร์ คนสำคัญของไทย ได้เขียนไว้ในทุกๆ ครั้งที่พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่างๆ คือ ในการใช้เวทมนต์คาถานั้น ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็อยู่ที่ “ดวงจิต” สำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาญาณ ถึงหากว่า ปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูง ไม่เกินขั้นฌานสมาบัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็สามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ ตามภูมิของตน ดังเช่น พระเทวทัต หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอยังสามารถบิดเบือนแปลงกาย กระทำอวดให้อชาตศัตรูกุมาร หลงใหลเลื่อมใสได้
"คาถา ใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเราจะต้องท่องเวทมนต์ให้จำได้ ก็จะต้องทำใจให้บริสุทธิ์ อาบน้ำชำระล้างสิ่งโสโครกให้สะอาดเสียก่อน แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ แล้วก็ระลึกเป็นการขอพรบารมี ให้ท่องเวทมนต์ได้ง่ายจำได้แม่น เมื่อจะท่องหรือจะใช้พระคาถา ใดๆ ทุกๆ พระคาถา จะต้องตั้งนะโม ๓ จบก่อน การใช้เวทมนต์คาถานั้น ผลสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ ที่ใช้คาถาบริกรรมนั้น ผู้บริกรรม จะรู้ถึงเนื้อความของคาถาที่บริกรรมนั้น หรือไม่ก็ตาม นั่นมิใช่สิ่ง ที่เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะความมุ่งหมายต้องการแต่จะให้สมาธิเท่านั้น" ลองสังเกตว่า คำพูดของคนไทยเรา แต่ละจังหวัดเหมือนกันหรือเปล่า ภาคเหนือ กลาง ใต้ อีสาน สำเนียงภาษาก็ต่างกัน บทสวดมนต์ เวทมนต์ต่างๆ สำเนียงภาษาก็ต่างกัน บางอย่างผิดเพี้ยนต่างกันไปเลย แต่ทำไมยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์และเห็นผล แต่ความสำคัญอยู่ที่ “ดวงจิต” สำรวมเป็นสมาธิ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น