วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

บทสวดไชยน้อย : ประจำวัดป่าใหญ่อุบลฯ (พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง)



บทสวดไชยน้อย 




จุลชัยยะมงคลคาถา : ตัวธรรมอีสาน
บทสวดนี้ชื่อ จุลชัยยะมงคลคาถา หรือชัยมงคลคาถา หรือในท้องถิ่นอีสานเรียกสวดไชยน้อยประพัน­ธ์ในสมัยล้านช้างร่มขาว ประเทศลาวโดยพระมหาปาสมันตระมหาเถรว่าด้วย­ชัยชนะของพุทธเจ้าต่อเทพพรหม ครุฑ นาค ปิศาจ ฯลฯ และอวมงคลทั้งหลาย

นิยมสวดในยุคสมัย หลวงปู่ เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชอบ ปัจจุบันนี้มีสวดเพียงไม่กี่ที่ในอีสานจะเ­ห็นสวดที่วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี หรือวัดที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงพ­ระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานีและสว­ดเนื่องในงานที่สำคัญ ๆ

คำแปลนำมาจากหนังสือสวดมนต์ของวัดธรรมมงคล

บทสวดพรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้า เหนือหมู่มารทั้งปวงทั้งล่วงพ้นอำนาจท้าวจ­ตุโลกบาลทั้ง ๔และเป็นชัยชนะเหนือเทวดาทุกๆ ชั้น ทั้งเป็นชัยชนะอมนุษย์ ยักษ์ ภูติผีปีศาจ อาวุธทั้งหลายก็ทำอันตรายไม่ได้ ทั้งชัยชนะพญานาคราช ทั้งพระจันทร์ พระอาทิตย์ พระอินทร์ พระพรหม
ทั้งลม และไฟ ก็ทำอันตรายไม่ได้


คำแปล :
... ขอเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ๑๘ พระองค์ จงมารักษาทั้งพระฤาษี พระสาวก พระธรรม พระสงฆ์ จงมาอวยชัย
ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระรัตนตรัยในครั้งนั้น มารผู้ชั่วช้าได้พ่ายแพ้ต่อพระรัศมีของพระ­พุทธเจ้า

ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ พระพรหม พระอินทร์ เทวดาทั้งหลาย ผู้มีเดชานุภาพมากทั้งหมู่พญานาค หมู่พญาครุฑผู้มีศักดายิ่งใหญ่ ต่างชื่นชมชอบใจในชัยชนะของพระพุทธเจ้า ต่อหมู่มาร ณ โพธิบัลลังก์

เป็นชัยชนะที่เป็นอุดมมงคล ทั้งเป็นฤกษ์ดียามดีและขณะดีที่ได้ประกาศ
พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ขององค์สมเด็จพระสัม­มาสัมพุทธเจ้าขอความสวัสดีมีชัย จงมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งคุณพระรัตนตรัยขอให­้ท่านจงได้รับประโยชน์และความสุขทั้งเจริญ­รุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ขอให้มีอายุยืนยาวปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใ­ด ขอให้ได้ดังใจประสงค์และปราศจากโรคภัยทั้ง­หลายทั้งปวง ทั้งห่างไกลความทุกข์ขอให้ประสบสุขทั้งกาย­และใจ ...



ขอพลังอำนาจแห่งบทสวดจงพิทักษ์รักษาทุกท่านให้ประสบแต่โชคดีมีชัย แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง จงทุกประการเทอญ

ด้วยความปราถนาดี

ครูพี



หมายเหตุ

เนื้อหาของบทสวด

นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
เตชะ ปะสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา
สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
สะมุททา ภูตุง คังคา จะ สะหรัมพะ ชัยยะ ปะสิทธิ ภะวันตุ เต

ชัยยะ ชัยยะ ธ รณิ ธ รณี อุทะธิ อุทะธี นะ ทิ นะ ที
ชัยยะ ชัยยะ คะคนละตนละนิสัย นิรัยสัย เสน นะ เมรุราช ชะพล น ระชี
ชัยยะ ชัยยะ คัมภีระ โสมภี นาเคน ทะนาคี ปิศาจ จะ ภูตะกาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา

ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัมปาทินาคะ กุละคัณโถ

ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุชง สีหะ เพียคฆะ ทีปา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี

ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา

ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข

ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหเมนทะคะณา

ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพพัง

ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจกะพุทธะสาวัง ชัยยะ ชัยยะ มะเหสุโร หะโรหะริน เทวา

ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬหะโก วิรูปักโข จันทิมา ระวิ

อินโท จะ เวนะเตยโย จะ กุเวโร วะรุโณปิจะ
อัคคิ วาโย จะ ปาชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฐะโก
อัฏฐาระสะ มะหาเทวา สิทธิตาปะสะอาทะโย
อิสิโน สาวะกา สัพพา ชัยยะ ราโม ภะวันตุ เต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะกัง
เอเตนะ ชัยยะเตเชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
เอเตนะ พุทธะเตเชนะ โหตุ เต ชัยยะมังคะลัง


ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา พ๎รัหมะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา อินทะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา เทวะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา สุปัณณะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา นาคะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา สะหรัมพะคะณา มะเหสิโน


ชะยันโต โพธิยา มูเล สักกะยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตฺวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตฺวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ


เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
สุณันตุ โภนโต เย เทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา
ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
รักขันตุ สัพพะสัตตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพพะทา
กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง

อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สะมันตัง



---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------












วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พลังคลื่นเสียงแห่งแอตแลนติส ๒

วิชาของชาวแอตแลนติสนั้นนอกจากจะใช้คลื่นแสงและผลึกคริสตัลแล้ว ยังใช้คลื่นเสียงประกอบเหมือน ๆ กับ "มนตรา"ในวิชาละมะของธิเบต
หนึ่งในทั้งหมด 24 คลื่นเสียงที่ชาวแอตแลนติสใช้ในการฝึกพลัง คือคลื่นเสียงในลำดับที่ 24 ความเป็นดังนี้


AU-MA-LAA (โอเมลา)


เป็นเสียงที่ทรงพลังอย่างสุดหยั่ังคาด ใช้เพื่อป้องกันตัวเองจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง

อ้างอิง : สุวินัย ภรณ์วลัย สมาธิหมุน กรุงเทพฯ : บริษัทไอโอนิค อินเตอร์เทรดจำกัด, 2540.

พลังคลื่นเสียงแห่งแอตแลนติส 1

วิชาของชาวแอตแลนติสนั้นนอกจากจะใช้คลื่นแสงและผลึกคริสตัลแล้ว ยังใช้คลื่นเสียงประกอบเหมือน ๆ กับ "มนตรา"ในวิชาละมะของธิเบต
หนึ่งในทั้งหมด 24 คลื่นเสียงที่ชาวแอตแลนติสใช้ในการฝึกพลัง คือคลื่นเสียงในลำดับที่ 15 ความเป็นดังนี้

SO-MAA-AH (โซเมอา)

ถ้าออกเสียงต่อเนื่อง เสียงนี้จะเหมาะเป็น "มนตรา" ที่สุดสำหรับปัจเจกชนที่มุ่งสัมผัสกับ "พระเจ้าภายในตัวเอง"(GOD-SELF)ของคนเรา เพราะเสียงนี้เป็นตัวแทนของความรู้ การรับรู้และการบรรลุ อีกทั้งยังเป็นเสียงแห่งจักรวาลอีกด้วย

อ้างอิง : สุวินัย ภรณ์วลัย สมาธิหมุน กรุงเทพฯ : บริษัทไอโอนิค อินเตอร์เทรดจำกัด, 2540.

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หลักการของเวทมนตร์

มนตร์ หรือ เวท แม้จะเป็นคำศักดิ์สิทธิ์แต่จะมีเดชมีอานุภาพขึ้นได้ต้องอาศัยการสวดหรือบริกรรมพร่ำบ่น กล่าวเกี่ยวกับพระปริตต์โดยเฉพาะท่านพระพุทธโฆสเถระกล่าวไว้่ว่า อานุภาพของพระปริตต์ทั้งหลายจะแผ่ไปกว้างขวางตลอดแสนโกฎิจักรวาฬ แผ่ไปได้อย่างไร? เทียบสิ่งที่เห็นได้ง่ายเช่น เมื่อเราขว้างหรือโยนก้อนดินหรือก้อนหินลงไปในสระน้ำ จะเห็นน้ำกระเพื่อมแผ่เป็นวงกว้างออกไป ๆ คลื่นในอากาศก็ทำนองเดียวกัน หากแต่ยังไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา โดยเฉพาะคลื่นเสียง ถ้าเข้าใจกฎแห่งความสั่นสะเทือนอาจช่วยให้เราเข้าใจปัญหาเรื่องเดชหรืออานุภาพของมนตร์ทั้งหลายได้บ้าง ตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรากฏว่า ชีวิตินทรีย์แต่ละประเภทย่อมมอัตราการสั่นสะเทือนของมันเอง แม้อนืนทรีย์วัตถุแต่ละชนิดตั้งแต่เม็ดทรายที่เป็นของเล็กขึ้นไปจนกระทั่งภูเขาลูกใหญ่ ๆ ตลอดจนดวงดาวนพเคราะห์และดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ แต่ละชนิดต่างมอัตราการสั่นเสทือนทั้งนั้น ความสั่นสะเทือนจะแผ่ไปกว้างแคบอย่างใดก็สุดแล้วแต่แรงกระทบหรือสัมผัส ถ้าพิจารณาเทียบกับทฤษฎีทางดนตรี อาจทำให้เห็นชัดเจนขึ้น เสียงดนตรีย่อมเกิดจากความสั่นเสทือนอันเกิดจากการกระทบหรือสัมผัสจะเป็นเสียง หนัก เบา ยาว สั้น สุดแต่อัตราการสั่นสะเทือน และถ้าจัดเสียงนั้น ๆ ให้ถูกโน้ตก็จะเกิดลำนำทำนองเพลงที่ไพเราะได้ตามต้องการ
นั่นเป็นเรื่องกฎแห่งความสั่นสะเทือน อันเกิดจากลมภายนอก แต่การเปล่งเสียงกล่าวมนตร์ทั้งหลายที่่บริกรรมพร่ำบ่น หรือสวดภาวนานั้นท่านอธิบายว่าเกิดจาก "ลมภายใน" ที่เรียกว่า "ปราณะวายุ" เป็นเสียงสั่นสะเทือนที่สำคัญ สามารถบันดาลให้มีเดช มีอานุภาพ ด้วยการพัฒนาทางจิตที่มีแรงกระทบ หรือสัมผัสเหนือสิ่งใดแล้วแผ่ขยายออกไป เช่น ที่พระพุทธโฆสะเถระกล่าวถึงอานุภาพพระปริตต์ข้างต้น เพราะท่านกล่าวว่า "ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายเป็นวัตถุ" จึงสามารถเกิดการกระทบ และทำให้เกิดความสั่นสะเทือนแผ่ขยายวงกว้างออกไป เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรัตนะปริตต์จบแต่ละคาถา ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า อมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาฬได้ยอมรับอาณาของคาถานั้น ๆ แต่มีหลักฐานอยู่ว่าการเปล่งเสียงกล่าวมนตร์ทั้งหลายที่นับว่าถูกต้องนั้น จะต้องมีความบริสุทธิ์สะอาดทางร่างกายของผู้บริกรรมและผู้สวดภาวนาตลอดจนผู้มีความรู้มนตร์นั้น ๆ โดยถูกต้องด้วย จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้มีศรัทธาเลื่อมใสที่จะบริกรรมหรือสวดภาวนามนตร์ จะต้องชำระปากและลิ้นของตนให้บริสุทธิ์สะอาดเสียก่อนแล้วจึงเปล่งเสียงกล่าวมนตร์บทนั้น ๆ เป็นการให้ชีวิตชีวาแก่มนตร์หรือเป็นการปลุกอานุภาพที่หลับอยู่ของมนตร์บทนั้น ๆ เป็นกาารให้ชีวิตชีวาแก่มนตร์หรือเป็นการปลุกอานุภาพที่หลับอยู่ของมนต์บทนั้น ๆ ให้ตื่นตัวขึ้น

อ้างอิง : ธนิต อยู่โพธิ์ , อานุภาพพระปริตต์ โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ กทม. 2537

การใช้มนต์คาถา

เกี่ยวกับเรื่องใช้มนต์คาถานั้น พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์หลวง สำนักงานราชวัง และหัวหน้าคณะพราหมณ์ โบสถ์เทวสถาน บอกว่า เวทมนต์คาถาเป็นตัวสื่อทำให้เกิดสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิจิตก็ไม่ฟุ่งซ่าน การรู้คาถา และท่องคาถา ได้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีสมาธิและศีลธรรมกำกับ คาถา นั้นๆ จึงสัมฤทธิ์มรรคผล แต่คนในปัจจุบันคิดว่า การรู้คาถา และท่องคาถา ได้เท่านั้น ก็สามารถผูกใจเพศตรงข้ามได้ โดยเฉพาะคาถา ที่เกี่ยวกับความรัก ความเมตตา คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า สามารถทำให้เพศตรงข้ามมาสนใจได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว คาถา ไม่สามารถบังคับจิตใจเพศตรงข้ามได้ กลับเป็นการบังคับฝ่ายผู้ที่ใช้คาถา ให้เป็นไปตามคาถา บทนั้นๆ ที่สำคัญ คือ หากนำไปใช้ในด้านกามารมณ์ และผิดศีลธรรม นอกจากไม่เป็นมรรคผลแล้ว ยังเป็นการสร้างบาปให้เกิดกับผู้ใช้คาถา ด้วย

ด้าน อ.โสภณ พัฒน์ชัยชนะ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอักขระเลขยันต์ บอกว่า ในคำปรารภของ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ชำนาญทางไสยศาสตร์ เวทมนต์คาถาและโหราศาสตร์ คนสำคัญของไทย ได้เขียนไว้ในทุกๆ ครั้งที่พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่างๆ คือ ในการใช้เวทมนต์คาถานั้น ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็อยู่ที่ “ดวงจิต” สำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาญาณ ถึงหากว่า ปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูง ไม่เกินขั้นฌานสมาบัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็สามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ ตามภูมิของตน ดังเช่น พระเทวทัต หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอยังสามารถบิดเบือนแปลงกาย กระทำอวดให้อชาตศัตรูกุมาร หลงใหลเลื่อมใสได้

"คาถา ใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเราจะต้องท่องเวทมนต์ให้จำได้ ก็จะต้องทำใจให้บริสุทธิ์ อาบน้ำชำระล้างสิ่งโสโครกให้สะอาดเสียก่อน แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ แล้วก็ระลึกเป็นการขอพรบารมี ให้ท่องเวทมนต์ได้ง่ายจำได้แม่น เมื่อจะท่องหรือจะใช้พระคาถา ใดๆ ทุกๆ พระคาถา จะต้องตั้งนะโม ๓ จบก่อน การใช้เวทมนต์คาถานั้น ผลสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ ที่ใช้คาถาบริกรรมนั้น ผู้บริกรรม จะรู้ถึงเนื้อความของคาถาที่บริกรรมนั้น หรือไม่ก็ตาม นั่นมิใช่สิ่ง ที่เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะความมุ่งหมายต้องการแต่จะให้สมาธิเท่านั้น" ลองสังเกตว่า คำพูดของคนไทยเรา แต่ละจังหวัดเหมือนกันหรือเปล่า ภาคเหนือ กลาง ใต้ อีสาน สำเนียงภาษาก็ต่างกัน บทสวดมนต์ เวทมนต์ต่างๆ สำเนียงภาษาก็ต่างกัน บางอย่างผิดเพี้ยนต่างกันไปเลย แต่ทำไมยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์และเห็นผล แต่ความสำคัญอยู่ที่ “ดวงจิต” สำรวมเป็นสมาธิ

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คาถาสวดห้ามดาวบาปเคราะห์

คาถาสวดห้ามบาปเคราะห์

นักขัตะยัก ขะภูตานัง ปาปัคคะหะ นิวาระณา ปะริตตัสสา นุภาเวนะ หันตะวา เตสัง อุปัททะเว

คาถาสวดห้ามบาปเคราะห์ บทนี้เป็นข้อห้ามบาปเคราะห์ อันเกิดด้วยอำนาจของดาวนักษัตร ยักษ์มาร ภูติผีปีศาจทั้งหลาย ด้วยอานุภาพของ พระคาถาสวดห้ามบาปเคราะห์ บทนี้ ซึ่งจะช่วยขจัดอุปัทวะทั้งหลายที่จะเกิดมี ให้ห่างหายออกไป ด้วยบารมีของพระคาถาบทนี้

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ป้องภัยพิบัติเมื่อโดยสารยวดยาน

คาถาหลวงปู่ศุข

สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ

ขึ้นรถ ลงเรือ ขึ้นเครื่องบิน ท่องเสมอ ป้องกันภัยพิบัติ ฯ